สหภาพรถไฟฯ ร่วมกิจกรรม "วันงานที่มีคุณค่าสากล" รณรงค์ให้เกิดการจ้างงานต้องมั่นคงและเป็นธรรม

สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งปรพเทศไทย (สร.รฟท.) เข้าร่วมกับขบวน สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) จัดงานรณรงค์ “วันงานที่มีคุณค่าสากล หรือ Decent Work Day” เพื่อให้เกิดการจ้างงานที่มั่นคงและเป็นธรรม ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม โดยเดินขบวนจาก อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ไปยัง องค์การสหประชาชาติ (UN)

ในวันนี้ ( 7 ต.ค. ) สมาพันธ์สมานฉันท์แรงงานไทย ( สสรท. ) ร่วมกับ สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ( สรส. ) ได้จัดกิจกรรม “วันงานที่มีคุณค่าสากล” หรือ Decent work day ขึ้น เพื่อเป็นการรณรงค์ให้เกิดการจ้างที่มั่นคงและเป็นธรรม รวมถึงสะท้อนปัญหาด้านแรงงานที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งการจัดกิจกรรมในวันนี้ยังเป็นการแสดงพลังความสามัคคีของพี่น้องแรงงานทั่วโลกที่จะร่วมกันต่อสู้เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนทำงานอีกด้วย

 

โดยความเป็นมาวันงานที่มีคุณค่าสากล วันที่ 7 ตุลาคมของทุกปี เป็น “วันงานที่มีคุณค่า” (World Day for Decent Work) ซึ่งมีที่มาจากการประชุมใหญ่องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (องค์การแรงงานระหว่างประเทศหรือ ILO) ครั้งที่ 87 พ.ศ. 2547 ขบวนการแรงงานทั่วโลกได้จัดรณรงค์เพื่อการจ้างงานที่มั่นคง โดยเชื่อว่างานที่มีคุณค่าจะยกระดับคุณภาพชีวิตในการทํางานและส่งเสริมให้มีการพัฒนาแรงงานที่ยั่งยืน “งานที่มีคุณค่า” หมายถึง งานซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการเกี่ยวกับวิถีชีวิตและการทํางานของมนุษย์ อันประกอบด้วย หลักการที่สําคัญดังนี้

1. การมีโอกาสและรายได้ (โอกาสและรายได้)

2. การมีสิทธิ (สิทธิ)

3. การได้แสดงออก (เสียง)

4. การได้รับการยอมรับ (Recognition)

5. ความมั่นคงของครอบครัว (ความมั่นคงของครอบครัว)

6. การได้พัฒนาตนเอง (การพัฒนาส่วนบุคคล)

7. การได้รับความยุติธรรม (Fairness)

8. การมีความเท่าเทียมทางเพศ (Gender equality)

เป้าหมายที่ 8: ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และยั่งยืน การจ้างงานเต็มที่ มีผลิตภาพ และการมีงานที่เหมาะสมสำหรับทุกคน
SDGs ย่อมาจาก Sustainable Development Goals–SDGs หรือแปลเป็นไทยก็คือ “เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” ถ้าถามว่าการพัฒนาที่ยั่งยืนคืออะไร ต้องบอกว่าคือการพัฒนาที่สมดุลกันใน 3 เสาหลักของมิติความยั่งยืน (Three Pillars of Sustainability) นั่นคือ สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม

ซึ่งในปีนี้ทาง สหภาพรถไฟฯ ได้เข้าร่วมกับกิจกรรมโดยร่วมพร้อมสะท้อนปัญหาของการจ้างงานในรัฐวิสาหกิจ รวมถึงนโยบายของภาครัฐที่เอื้อประโยชน์กับกลุ่มทุน ซึ่งมีผลกระทบกับประชาชนรวมถึงความมั่นคงของประเทศดังนี้
1. วิกฤตกำลังพนักงานขาดแคลน
2. ความเหลื่อมล้ำในการจ้างงาน (ลูกจ้างชั่วคราวต่อสัญญาปีต่อปี)
3. ร่าง พรบ. การขนส่งทางราง
4. การเปิดใช้นโยบาย PPP เอกชนร่วมลงทุน
5. การเร่งรัดการเพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่ทับซ้อนที่ดินการรถไฟ ที่ดินเขากระโดง จ.บุรีรัมย์ ตามคำพิพากษา

ทั้งนี้ ทางสหภาพรถไฟฯ พร้อมที่จะต่อสู้ไปกับพี่น้องขบวนการแรงงานในทุกภาคส่วน เพื่อให้เกิดการจ้างงานที่มั่นคงและเป็นธรรม รวมถึงการยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนทำงาน ให้เป็นไปตามหลักการขององค์การสหประชาชาติ (UN) ได้กำหนดไว้เกี่ยวกับ decent work งานที่มีคุณค่า ให้เป็นจริง